สนข.จัดกิจกรรม “สื่อมวลชนสัญจร” ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน Landbridge

สนข. จัดกิจกรรม “สื่อมวลชนสัญจร” ลงพื้นที่ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Landbridge)

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นประธานเปิดการจัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการมีส่วนร่วมต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร “ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Landbridge)”
เมื่อวันที่ 3 – 5 สิงหาคม 2566 ณ จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง โดยมีนายกรีธา เดชพิณ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชุมพร ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งนางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายสุรพงษ์ เมี้ยนมิตร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ สนข. และคณะสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้บริหารและบุคลากรของ สนข. ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเครือข่ายสื่อมวลชนสายเศรษฐกิจ-คมนาคม และสื่อมวลชนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารด้านการขนส่งและจราจรของ สนข. เพื่อใช้เป็นกลไกในการสื่อสารข้อมูลไปยังประชาชน ให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันท่วงที ซึ่ง ผอ.สนข. นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาและสำรวจเส้นทางการคมนาคมขนส่งของจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง และศึกษาดูงานตามแนวเส้นทาง ทล. 4006 (แนวเส้นทางที่จะก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) ที่ขนานกับทางรถไฟสายใหม่ MR8 ชุมพร-ระนอง) /จุดขึ้น-ลง ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง Motorway) /จุดที่จะก่อสร้างอุโมงค์รถยนต์ และอุโมงค์รถไฟ รวมทั้งลงพื้นที่ศึกษาดูงานบริเวณตำแหน่งที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย ณ ท่าเรือแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และบริเวณตำแหน่งที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามัน ณ เขาอ่าวอ่าง จังหวัดระนอง ซึ่งโครงการดังกล่าวนอกจากจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์แล้ว ยังถือเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor : SEC เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศอีกด้วย

Scroll Up